วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความร้อนกับคอมพ์พัง

เวลาที่พูดถึงความร้อนแค่อ่านก็รู้สึกร้อนวูบวาบ จำได้ว่าสมัยลุงตาบูยังเด็กๆ เมืองไทยยังมี 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน แต่เดี๋ยวนี้เมืองไทยมีแต่ร้อน กับโคตรร้อน ลองนึกดูว่านี่ยังไม่เข้าเดือนเมษายนที่จะต้องเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด อากาศยังร้อนตับแตกขนาดนี้


จำกันง่ายๆ เลยก็คือควรจัดวางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากกำแพงสัก 2-3 นิ้ว อย่าวางคอมพิวเตอร์ไว้กับพื้นโดยตรง แต่ก็ไม่ควรวางลงไปบนพื้นหรือบนพรมโดยตรงแนะนำให้ ซื้อแท่นวางคอมพิวเตอร์ที่ยกเครื่องขึ้นเหนือพื้นสัก 2-3นิ้ว เพื่อลดการสะสมของฝุ่น ตรวจดูให้แน่ใจว่าแท่นวางนั้นไม่ได้ขวางพัดลมระบายอากาศ
ในส่วนภายในเครื่องหากเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะก็ควรจัดสายที่ระโยงระยางภายในให้เรียบร้อย เพื่อให้การระบายอากาศภายในดีขึ้น หลังจากที่จัดการกับเรื่องทางกายภาพไปแล้ว หลานๆ ก็ยังสามารถอัพเดตไบออส ว่ากันว่าการใช้ไบออสที่อัพเดตขึ้นจะช่วยให้การทำงานของซีพียูทำได้ดีขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ควรให้คนที่เชี่ยวๆ เขาทำให้เราจะดีกว่า ง่ายๆ เพียงเท่านี้หลานๆ ก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานให้กับคอมพิวเตอร์ให้อยู่กนชั่วลูกชั่วหลานกันเลยก็ว่าได้ความร้อนกับคอมพ์พัง เป็นที่ทราบกันดีมานานแล้วว่า ความร้อนส่งผลต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (รวมถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจของลุงด้วย) แต่เพราะคอมพิวเตอร์ไม่ใช่คนก็เลยบ่นให้เราฟังว่าร้อนไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าหลานๆ จะไม่สามารถทราบได้ว่าตอนนี้น่ะคอมพ์มันร้อนเกินไปแล้ว
อาการที่บอกให้รู้ว่าตอนนี้คอมพ์นั้นร้อนเกินไปแล้ว ได้แก่การที่อยู่ๆ เครื่องก็แฮงก์แบบนิ่งสนิททำอะไรก็ไม่ขยับ บางครั้งก็อาจได้ยินเสียงพัดลมดังผิดปกติ คอมพิวเตอร์ส่วนมากจะมีพัดลมสองตัว - ตัวหนึ่งสำหรับระบายความร้อนให้เพาเวอร์ซัพพลายและอีกตัวหนึ่งสำหรับระบายความร้อนให้กับโพรเซสเซอร์ พัดลมเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบแรกๆ ของคอมพิวเตอร์ที่จะทำงานผิดพลาดเมื่อเครื่องร้อน ยิ่งถ้าพัดลมตัวใดตัวหนึ่งเสียก็อาจทำให้เกิดอาการจอฟ้า (มหาภัย) อย่างที่คอมพิวเตอร์.ทูเดย์เคยนำเสนอไปแล้ว
คอมพิวเตอร์นั้นไวต่ออุณหภูมิห้องมากกว่าเราเสียอีก หากอุณหภูมิภายในอยู่ที่ 85 องศา (ฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิภายในเคสฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ก็น่าจะอยู่ที่ราวๆ 110 องศา ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เก็บเครื่องไว้ในอุณหภูมิห้องที่สูงที่สุดประมาณ 75 ถึง 85 องศาเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ (และเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายอย่างถาวร)

ที่มา http://www.arip.co.th/articles.php?id=407331

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น